บริการยืมระหว่างห้องสมุด / สถาบัน
(Inter Library Loan - ILL)
ความหมาย
การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด เป็นการช่วยให้ผู้ใช้สารนิเทศได้รับสารนิเทศที่ต้องการจากห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศอื่นๆ เป็นการช่วยให้ผู้ใช้สารนิเทศได้ยืมวัสดุที่ห้องสมุดไม่มี ดังความหมายของบริการการยืมระหว่างห้องสมุด กล่าวว่า การยืมหนังสือ ระหว่างห้องสมุดเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งซึ่งห้องสมุดแห่งหนึ่งขอยืมหนังสือหรือวัสดุการอ่านโดยทางอ้อมให้แก่บุคคลหนึ่งจากห้องสมุด อีกแห่งหนึ่ง เป็นการขยายบริการยืมหนังสือหรือวัสดุการอ่านโดยทางอ้อมให้แก่บุคคลหนึ่งจากห้องสมุดแห่งหนึ่ง เป็นการขยายบริการยืมหนังสือ หรือวัสดุการอ่านของห้องสมุดจากห้องสมุดอื่น ๆ ที่มีวัสดุการอ่านที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการ แต่ห้องสมุดนั้นไม่มี (เต็มใจ สุวรรณทัต 2520 : 84) การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด จึงเท่ากับเป็นการให้บริการขอสารนิเทศ โดยไม่มีปัญหาในเรื่องการเข้าถึงสารนิเทศในห้องสมุดต่าง ๆ
(
ที่มา :http://lib.kru.ac.th/eBook/1631101/doc10-2.html)
ความคาดหวังของผู้ใช้
- ห้องสมุดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้
- มีความสะดวกในการเข้าถึง
- ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ เหมาะสม
- มีความน่าเชื่อถือ
- สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้
การค้นหาเว็บไซต์ที่ google หาไม่เจอ
invisible web หรือ deep webคือ เวปไซต์ทีที่ไม่ได้รับการ index จากเครื่องมือค้นหาดังๆอย่างเช่น google
ตัวอย่าง Deep Web Search Engines มีดังต่อไปนี้ค่ะ
1. Clusty (http://search.yippy.com/)
2. Intute (http://oedb.org/library/college-basics/www.intute.ac.uk)
3. INFOMIME (http://infomine.ucr.edu/)
4. Librarians' Internet Index (http://www.ipl.org/)
5. Internet Archive (http://www.archive.org/)
6. direct search (http://www.freepint.com/gary/direct.htm)
อธิบายเพิ่มเติม
invisible web คือ เว็ปไซต์ ที่เครื่องมือค้นหาใหญ่ๆอย่างเช่น google หาไม่เจอค่ะ คือมันจะไม่ขึ้นมาในหน้าแสดงผลการค้นหาถึงแม้ google ตอนนี้จะมีฐานข้อมูลที่ใหญ่มากๆ แต่เว็ปทั้งหมดที่มีในโลกมีมากกว่า 500 เท่าค่ะ ที่ sofeware ของ google ยังไม่สามารถหาเจอและบางส่วนของ invisibal หรือ deep web เหล่านั้น มีประโยชน์มาก เช่น ข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้นค่ะ
อ่านเพิ่มเติมการทำงานของ software ของ google ได้ที่เป็นตัวไปหา (crawler) แล้วจัดระบบ (index) ได้ที่นี่ค่ะ http://www.googleguide.com/google_works.html
(
ที่มา : http://www.gotoknow.org/blog/growthrings/56756)
ปรัชญาของการบริการ ILL
- ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองตอบความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด
- ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการบริการ
- ความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ต้องสามารถจัดการให้สามารถสนองตอบได้ให้ดีที่สุด
วัตถุประสงค์
- ส่งเสริมให้วิจัยและการศึกษาในเชิงลึก โดยยึดถือหลักการให้ยืมสำหรับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ห้องสมุด
- ให้บริการแก่ผู้ใช้มากขึ้นในการลงทุนเท่าเดิม
- ให้บริการคงเดิมในราคาที่ถูกกว่าเดิมหรือลงทุนน้อยลง
ความสำคัญของ ILL
1. ขยายความสามารถในการเข้าถึง
2. ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทาง
3. มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่า คุ้มทุน
4. ช่วยประหยัดงบประมาณ
5. ช่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่หายากที่มีเฉพาะบางห้องสมุด
6. เพิ่มความก้าวหน้าสร้างความเข้มแข็ง การจัดการ การบริการในกลุ่มห้องสมุด
7. สร้างภาพลักษณ์
งาน ILL ประกอบด้วย
1. ขอยืม
2. ให้ยืม
องค์ประกอบของการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
2. การสร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
การดำเินินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดที่จัดทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ โดยการจัดทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ ให้กับผู้ที่มาขอใช้บริการ และเพื่อให้มีการดำเนินงานระหว่างห้องสมุดร่วมกัน จึงมีการจำทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันเพื่อการพัฒนาการบริการยืมระหว่างห้องสมุดให้เป็นไปตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นร่วมกันจึงมีขั้นตอนดังนี้
1. การจัดทำคู่มือ
เป็นการจัดทำเพื่อให้แต่ละห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ เข้าใจถึงหลักการและข้อปฏิบัติในการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
2. กำหนดมาตราฐานร่วมกันระหว่างสถาบันหรือห้องสมุด
มีการกำหนดมาตรฐานกับห้องสมุดเครือข่ายร่วมกัน ให้มีแบบแผนเดียวกันเพื่อความสะดวก และรวดเร็วสำหรับผู้ที่มาใช้บริการ
3.กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
การกำหนดให้มีนโยบายในการดำเนินงานการประสานงานนั้นจะช่วยให้ การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและช่วยให้เกิดความผิดพลาด ข้อผิดพลาดลดลง
การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด มีดังนี้
1. การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-Automated ILL)
เป็นการดำเนินงานด้วยตัวบุคคลโดยการติดต่อทางไปรษณีย์ อีเมล หรือโทรศัพท์ ซึ่งจะมีการกรอกแบบฟอร์มเพื่อยืนยันในการติดต่อขอรับบริการยืมระหว่างห้องสมุดซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีหลายขั้นตอนที่ซับซ้อน จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้หรือเกิดความผิดพลาดในการทำงานขึ้นได้ ดังนั้นทางห้องสมุดควรที่จะ
- จัดให้มีระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการปฏิบัติงานที่ตรงกันในเครือข่ายของห้องสมุดและทำให้ผู้ที่มาขอรับบริการไม่เกิดความสับสน อีกทั้งยังช่วยผู้ใช้ในการอ้างอิงทรัพยากรสารสนเทศและการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น
- การใช้แบบฟอร์ม (Manual request) ที่เป็นแบบเดียวกันเพื่อให้ห้องสมุดหรือสถาบันได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นในการขอรับบริการยืมระหว่างสถาบัน
2. การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)
เป็นการดำเนินงานผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งง่ายต่อการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้อีกทั้งยังให้ความสะดวกและรวดเร็วในการบริการมากกว่าการดำเนินงานด้วยระบบมือ
- สามารถค้นในฐานข้อมูลท้องถิ่นไปจนถึงระดับนานาชาติได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกและง่ายต่อการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้เร็วยิ่งขึ้น
- สามารถยืมสารสนเทศผ่านทางเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW) ซึ่งทำให้ทราบว่าทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการอยู่ที่ห้องสมุดใดบ้าง อีกทั้งยังง่ายต่อการยืมระหว่างห้องสมุดเพราะสามารถเลือกห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ใกล้ที่สุดได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรอย่างรวดเร็วและประหยัดเวลาของผู้ใช้อีกด้วย
การคิดค่าบริการ
ทางสถาบันจะมีการคิดค่าบริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการมารับรายการที่ทำการยืมไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าทางสถาบันจะทำการดำเนินการรายการที่ยืมไว้อย่างแน่นอน และทางสถาบันจะจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่เกิดการสูญหาย
ข้อคำนึงด้านจริยธรรมและกฎหมาย
การยืมระหว่างสถาบันจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎหมายลิขสิทธิ์เนื่องจากการทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศระหว่างสถาบันนั้นจะมีการทำสำเนาบทความจากหนังสือ หรือทรัพยากรอื่นๆ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นทางสถาบันควรจะมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของผลงานก่อน เพื่อป้องกันผู้ใช้คนอื่นๆละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์
บริการนำส่งเอกสาร
ความหมาย
เป็นบริการการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่ และ ยังไม่ได้เผยแพร่ และ จัดส่งในรูปแบบกระดาษ หรือ วัสดุย่อส่วน หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ และมีการคิดค่าบริการสำหรับผู้ใช้ด้วย บริการนี้เกี่ยวกับลิขสิทธ์ที่ผู้บริการนำส่งจะต้องขออนุญาตผู้มีสิทธิในผลงาน และเสียค่าลิขสิทธ์ให้ถูกต้องก่อนทำสำเนาถึงลูกค้าด้วย นอกจากนี้ยังมีการเก็บค่าภาษี(Tax) เพิ่มด้วยเนื่องจากถือว่าเป็นการค้าขาย
การใช้บริการนำส่งเอกสารของห้องสมุด มี 2 ลักษณะคือ
1. การใช้บริการนำส่งเอกสารในงานบรการสารนเทศของห้องสมุดมีขั้นตอนดังนี้
1.1 รับคำขอจากผู้ใช้บรการ
1.2 ตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดทางบรรณานุกรม หรือตรวจสอบจาก uncover โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
1.3 เลือกบริษัทที่ใช้บริการนำส่งเอกสาร
1.4 จัดส่งคำขอใช้บริการ มีหลายวธี เช่น E-mail ระบบ Ariel และดทรสารเป็นต้น
1.5 รับเอกสารจากบริษัทผู้ให้บริการและจัดส่งผู้ใช้บรการ ใช้วธีทางไปรษณีย์ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ Ariel และทางโทรสาร ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกัน
1.6 บันทึกสถิติการใช้บรการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ รายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทผู้ให้บริการนำส่งเอกสารจำนวนเอกสารที่บริษัทผู้ให้บริการสามารถจัดส่ง หรือสามารถจัดส่งให้ห้องสมุด
2. การใช้บริการนำส่งเอกสารในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศแทนการสะสมสารสนเทศไว้ในห้องสมุดที่ต้องมีกระบวนการที่ต้องปฎบัติ ตามอีกหลายขั้นตอน เช่น กระบวนการทางเทคนิคต่างๆ การดูแลรักษา การจัดให้บริการ เป็นต้น จึงเป็นไปได้ว่าบริการนำส่งเอกสารอาจเป็นทางเลือกหนึ่งของห้องสมุดในงานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศที่เปลี่ยนไปจากลักษณะเดิม เช่น อาจใช้บริการนำส่งเอกสารแทนการบอกรับวารสารซื้อใหม่ที่มีราคาแพง หรือใช้บริการนำส่งเอกสารแทนการเป็นสมาชิกวารสารที่ปัจจุบันมีราคาแพง แต่มีปริมาณการใช้น้อย
ประเภทของผู้ให้บริการนำส่งเอกสาร ซูซาน เอ็ม.วาร์ด แบ่งประเภทของผู้ให้บริการนำสงเอกสารดังนี้
1. ผู้ให้บริการนำส่งเอกสารทั่วไป มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการ เช่นทางเว็บไซต์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการกลุ่มนี้เช่น uncover เป็นต้น
2. ผู้ให้นำส่งเอกสารเฉพาะด้าน/สาขา เช่น UMI ให้บริการนำส่งเอกสารที่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกัน (ปัจจุบันปิดเพื่อปรับปรุง) NTS ให้บริการนำส่งเอกสารรายงานวิจัยที่ได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐ
3.ผู้ให้บริการนำส่งเอกสารที่เป็นผู้จำหน่วยฐานข้อมูล
4. ผู้ให้บริการนำส่งเอกสารที่ใช้สารนิเทศของหอสมุดแห่งชาติ
5. ผู้ให้บริการนำส่งเอกสารที่ที่เป็นห้องสมุด
6. ผู้ให้บริการนำส่งเอกสารที่เป็นสำนักพิมพ์
7. ผู้ให้บริการนำส่งเอกสารที่เป็นนายหน้าค้าสารนเทศ
การเลือกผู้ใช้บรการนำส่งเอกสาร
1. ราคา
2. ความน่าเชื่อถือ
3. วิธีการส่งเอกสาร
4. คุณภาพฐานข้อมูล
5. ระบบการเรียกเก็บค่าบริการ
6. ระยะเวลาในการให้บริการ
7. จำนวนเอกสารและประเภทเอกสารที่ใช้บริการ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งเอกสาร นอกจากเว็บไซต์และฐานข้อมูลเอกสารสมบูรณ์ที่ผู้ให้บริการพัฒนาขึ้นดังที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีระบบการจัดส่งเอกสารโดยใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคม อีกวิธีหนึ่งคือ ระบบ Ariel เป็นโปรแกรมสำหรับ รับ-ส่งเอกสารโดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบการทำงานเริ่มจากใช้สแกนเนอร์กราดภาพเอกสารจากต้นแบบข้อมูลต่างๆทั้งภาพและอักขระจะถุกเก็บไว้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะจัดส่งไปยังปลายทางซึ่งมีโปรแกรม Ariel ติดตั้งอยู่เช่นกันแล้วจึงพิมพ์ข้อมูลทางเครื่องพิมพ์ ข้อดีคือ
1) ประหยัดเวลา
2) ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
3) เอกสารมีความชัดเจนกว่าการใช้โทรสาร
4) เอกสารที่สแกนไว้ในคอมพิวเตอร์สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำและสามารถส่งปลายทางที่ต้องการซํ้าได้อีก
5) ติดตั้งและใช้งานง่าย
ที่มา : http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-4663.html
บริการข่าวสารทันสมัย
(Current Awareness Services CAS)
ความหมาย
เป็นบริการที่ห้องสมุดถ่ายสำเนาสารบาญวารสารที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ ๆ ในวิชาชีพ และจัดเรียงไว้ในแฟ้มตามลำดับชื่อวารสาร
ที่มา : http://library.cmu.ac.th/faculty/nurse/lib9.htm
บริการสารนิเทศประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ใช้สารนิเทศ ในปัจจุบัน ได้แก่ การให้บริการสารนิเทศทันสมัย ซึ่งหมายถึง การให้บริการความรู้ หรือพัฒนาการที่ทันสมัยในเรื่องราวที่อยู่ในความสนใจ โดยเฉพาะของผู้ใช้สารนิเทศคนใด คนหนึ่ง ความสนใจนี้มักจะเกี่ยวข้องกับอาชีพและการทำงานของบุคคลนั้น อาจจะเกิดจากความสนใจที่จะนำเอาความรู้ ไปใช้ปฎิบัติงานให้เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรืออาจจะเกิดจากความต้องการข้อสารนิเทศ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ การให้บริการ สารนิเทศทันสมัยของศูนย์สารนิเทศ จึงมีจุดประสงค์ที่จะสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ สามารถติดตามสารนิเทศ ในเรื่องที่สนใจได้อย่างทันท่วงที (ทัศนาภรณ์ คทวณิช 2528 : 99-100) เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากสารนิเทศที่มีเพิ่มเติม อยู่ตลอดเวลาในศูนย์สารนิเทศต่างๆ ความต้องการในการรับบริการข้อสนเทศทันสมัยจึงหมายถึง การที่ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ จะอ่านสารนิเทศทุกชนิด และพิจารณาว่าจะคัดเลือกบทความบทใดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานบ้าน เมื่อพบแล้วจะแจ้งไปให้ผู้ใช้ทราบแต่ละบุคคล (Whitehall 1986 : 1) ความต้องการในการรับสารนิเทศทันสมัยขึ้นอยู่กับวิธีดำเนิน
ปรัชญา
เอกสารเหมาะสม ที่ทันกาลสำหรับบุคคลที่ต้องการ
“The right book/documents to the right person at the right time”
วัตถุประสงค์
CAS จะมีประโยชน์เมื่อ สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ
1. ให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์
2. ตามความต้องการต่อผู้รับ
การจัดส่งบริการ
การจัดส่ง หรือเผยแพร่บริการสามารถทำได้ ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์ (Print)
2. อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ มือถือ Voice-mail หรือ E-mail
การให้บริการที่ตรงกับจุดประสงค์ของการรับบริการจากผู้ใช้สารนิเทศในเรื่องต่อไปนี้ คือ
1. หัวข้อสารนิเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้
2. เสนอสารนิเทศให้ทันสมัย ไม่ให้สารนิเทศที่ล่าช้า
3. คัดเลือกสารนิเทศที่น่าสนใจที่สุด
4. ให้สาระของสารนิเทศประกอบ เพื่อประหยัดเวลาในการอ่าน
5. บริการสารนิเทศเพื่อความสะดวกต่อการใช้ทุกรูปแบบ
การเตรียมการให้บริการสารนิเทศทันสมัย
การให้บริการสารนิเทศทันสมัย ต้องจัดทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การให้บริการมักจำกัดอยู่ในเขตสาขาวิชาเฉพาะ ของแต่ละสารนิเทศนึน ๆ จึงเหมาะสำหรับศูนย์สารนิเทศเฉพาะวิชา ส่วนศูนย์สารนิเทศที่บริการสารนิเทศหลายวิชาหรือห้องสมุด โดยทั่วไป อาจพิจารณาขอบเขตหัวข้อเรื่องที่น่าสนใจในการนำมาจัดทำให้บริการสารนิเทศทันสมัยได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้บรรณารักษ์หรือนักสารนิเทศควรมีวิธีการเตรียมการในการให้บริการดังต่อไปนี้ (ทัศนาภรณ์ คทวนิช 2528 : 100-101) คือ
1. บรรณารักษ์ต้องอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ให้แก่ผู้ขอมา
2. เนื้อหาวิชาที่ให้บริการต้องเฉพาะความต้องการ
3. บรรณารักษ์ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ให้พร้อม สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
4. ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้นั้น จะต้องนำออกเผยแพร่ส่งให้ผู้ใช้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งเท่ากับเป็นการป้อนข้อมูลทาวิชาการให้แก่นักวิชาการ และ ผู้ใช้อยู่เสมอ
5. มีการนำข้อมูลมาเขียนขึ้นใหม่ โดยการวิเคราะห์และสรุปเรื่องที่ซ้ำ ๆ กัน ที่ลงอยู่ในวารสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เสนอให้แก่ผู้ใช้ เรียกว่า State of the Art เพื่อประหยัดเวลาของนักวิชาการไม่ให้ต้องอ่านเรื่องซ้ำ
การเผยแพร่สารนิเทศทันสมัย
การให้บริการสารนิเทศทันสมัย จะต้องจัดทำให้บริการตั้งแต่เมื่อห้องสมุดได้รับสารนิเทศนั้น ๆ ให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถึงมือผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว การให้บริการสารนะเฐฬทันสมัย มีการให้บริการได้หลายรูปแบบ วิธีการดังต่อไปนี้ (Blick 1986 : 15-16) จะอำนวยประโยชน์แก่ผู้ใช้สารนิเทศในการทราบข่าวสารนทันสมัย คือ
1. การแสดงวารสาร เป็นการจัดแสดงวารสารที่ได้รับใหม่ภายในในห้องสมุด ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้
2. การหมุนเวียนวารสาร การหมุนเวียนวารสารช่วยให้อ่านสารนิเทศได้อย่างพินิจพิจารณามากยิ่งขึ้น
3. การหมุนเวียนหน้าปกในของวารสาร ได้แก่ การถ่ายทำสำเนาหน้าปกในของวารสารที่ได้รับใหม่ให้ผู้ใช้สารนิเทศ ได้อ่านข้อมูลสารนิเทศใหม่ ๆ
4. การให้บริการคัดเลือกสารนิเทศตามความสนใจ
5.การผลิตเอกสารเผยแพร่ เป็นการแจ้งสารนิเทศใหม่ ๆ โดยการพิมพ์เอกสารเผยแพร่
6. การซื้อบริการคัดเลือกสารนิเทศจากหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้บริการได้ทราบภายในห้องสมุด ข่าวสารทันสมัยบางประเภท มีผู้จัดทำเพื่อการค้าถ้าห้องสมุดบอกรับและแจ้งให้ห้องสมุดได้ทราบก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก
7. การจัดทำกฤตภาคสารนิเทศ โดยการตัดสารนิเทศในห้อข้อวิชาต่าง ๆ ใส่แฟ้มและหมุนเวียนในการอ่าน
8. การจัดทำดรรชนีสารนิเทศ
ที่มา : http://lib.kru.ac.th/eBook/1631303/doc6-2.html
งานบริการข่าวสารทันสมัยกับไอที
นอกจากนั้นยังมีรูปแบบอื่นๆ เช่น
- Web pages with news worthy content. ข่าวบนเว็บเพจ
- Weblogs (Blog)
- RSS and newsfeeds (database and others services)
RSS (Really Simple Syndication) บริการบนเว็บ ภาษา XML ใช้ดึงข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนหน้าเว็บเพจ โดยนำมาเฉพาะหัวข้อข่าว เมื่อผู้ใช้คลิกลิงค์ก็จะแสดงรายละเอียดข่าวในเว็บต้นฉบับนั้นๆ โดยที่หัวข้อข่าวจะอัปเดทตามเว็บต้นทาง ซึ่งการดึงหัวข้อข่าวไปแสดงนั้นจะมีส่วนประกอบทั้งหมดสามส่วนคือส่วนผู้ให้บริการดึงข่าว และส่วนผู้สร้างเว็บไซต์ใช้ทั่วไปที่ต้องการดึงข่าวไปแสดง และส่วนผู้ใช้ทั่วไป
RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์โดยเฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลบนเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น
RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริการข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแชร์ข้อมูล เช่น เว็บไซต์ข่าว บล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างเปิดดูแยกต่างหากเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึงสามารถสืบค้นข้อมูลได้
จุดเด่นของ RSS คือผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูลปรับใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการปรับข้อมูลใหม่ไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาปรับใหม่บนเว็บไม่ครบถ้วน
รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้สามารถรับข่าวสารปรับใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์
ลักษณะการบริการ CAS
ลักษณะการบริการ CAS (Rowley 1992:370)
1. บริการทันสมัยเฉพาะบุคคล (Individual based approach)
1. Documents cards บัตร/แผ่น แจ้งบรรณานุกรม อาจมีแบบฟอร์มคำขอ e-mail (more Fulltext) ตรวจสอบจากข้อมูลผู้ใช้ อาจทำโดยใช้คอมพิวเตอร์
2. Personal notification books Articles ทางจดหมาย, บันทึก, Tel, e-letter,TOC
3. Commercial database producers/vendors ผู้ใช้ลงชื่อสมัครรับข่าวสาร, current content
4. Personal bibliographic databases ส่งข้อมูลทางบรรณานุกรม และเนื้อหา Procite, ReferenceManager, End Note, Library Master, DB/TextWorks and Bibliocite
5. Electronic clipping services ถือเป็น SDI Dow Jones ให้บริการ Custom Clips, ของไทย = iQNewsClip , มติชน e-Library ทางออนไลน์ หรือ e mail
6. Push technology หรือ Webcasting ส่งข้อมูล และสารสนเทศไปบนอินเทอร์เน็ตอย่างอัตโนมัติ ส่วนใหญ่จะเป็นเว็บไซต์ประเภทข่าวสาร เช่น CNNPN , ABCNEWS (Microsoft Direct Push) เช่น RSS
2. บริการสารสนเทศทันสมัยประเภทกลุ่ม (General based approach)
1. จดหมายข่าว/ประกาศข่าว (Information bulletin)- list of references to items of interest contain information about titles,abstracts of periodical articles, reports, conference papers, announcements paper e mail web
2. เวียนเอกสาร ส่งสำเนาเนื้อหาบทความ (Contents page circulation) ไม่ส่งทั้งเล่ม เฉพาะหน้าแรก หรือ สาระสังเขป
3. การแสดงหนังสือ/วัสดุใหม่ (Display of new acquisitions)
4. ตัดข่าว(Press cuttings) – สรุปข่าวด่วน(RSS)ส่ง หรือ นำเสนอที่บริเวณที่ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่าย
5. การหมุนเวียนวารสาร (Periodical routing) จำนวนผู้ใช้บริการ โดยทั่วไปการกำหนดจำนวนผู้ใช้ต่อการจัดบริการเอกสารไม่ควรเกินรายการละ 15 คน สำหรับทรัพยากรฯรายการที่มีผู้ต้องการใช้มากอาจพิจารณาจัดหาเพิ่มสำหรับให้บริการ ณ สถาบันบริการสารสนเทศ หรือในกรณีที่มีงบประมาณจำกัด อาจใช้วิธีจัดนิทรรศการแทน
6. แสดงรายการทรัพยากร (Accessions list) -new additions to the collection are included in the accessions list
7. Use of indexing and abstracting journals Internally produced abstracts and indexes These records can be stored systematically in an in-house database toenable information retrieval. The indexes and abstracts prepared can also serve current awareness purposes แจ้ง latest record หรือจัดส่งเล่มเวียนแก่ผู้ใช้
8. Current awareness exhibits topic aware of an issue, primary purpose of exhibits is to inform end-users of resources available in the collection.
9. Current contents services (Books, Periodicals) Current Contents in Print, (Current Contents on CD-ROM consists of six editions: Agriculture, biology & environmental sciences; Clinical medicine; Life sciences; Physical, chemical & earth sciences; Engineering, computing & technology and Social & behavioral sciences ของ Institute for Scientific Information (ISI) ) Current Contents Search, Current Contents Connect (Thomson Reuters) มีให้รายละเอียด TOC มากฉบับ รวม สาระสังเขป
10. Book alerts บริการผ่าน Ingenta โดย Academic Book Center (AcBc) ออกรายอาทิตย์ รวม conference proceedings
การจัดบริการ CAS
1. ทราบขอบเขตของเรื่องที่ผู้ใช้สนใจ (Knowing what topics to cover)
2. ทราบว่าใครต้องการอะไร (knowing who wants what)
3. ทราบแหล่งสารสนเทศที่จะให้ข้อมูลล่าสุด (knowing the sources for obtaining the latest information)
4. จัดส่งให้กับผู้ใช้อย่างสม่ำเสมอ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม (supplying the information regularly and reliably)