บริการแนะนำ (Guidance Service)
บริการแนะนำจะมีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่มีความแตกต่าง คือ เน้นในการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น
ประเภทการบริการแนะนำ
1. บริการแนะนำการอ่าน (Reder's Advisory Services)บริการนี้ บรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จะช่วยแนะนำหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์ให้แก่ผู้ใช้ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จัดนิทรรศการ จัดทำบรรณานุกรมหรือรายชื่อหนังสือในสาขาวิชาที่น่าสนใจ หนังสือดีเด่น ที่ได้รับรางวัล ออกเผยแพร่ เพื่อเป็นการชักจูง ให้ผู้อ่านสนใจอยากอ่านมากขึ้น
ที่มา : http://www.library.mju.ac.th/web/about_us/service_lib.htm
เป็นการอ่านเพื่อปรับปรุงและพัฒนาจิตใจ ความคิด มักต้องทำควบคู่กับผู้รู้ด้านจิตวิทยา เพื่อช่วยฟื้นฟูและพัฒนาด้านจิตใจ
หนังสือบำบัด
ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณมาแล้ว นักเขียน นักปรัชญาในยุคนั้นเชื่อว่าหนังสือสามารถบำบัดอาการป่วยไข้ได้ อริสโตเติลเองก็เชื่อว่า หนังสือกับงานศิลปะช่วยให้คนสุขภาพดีได้
ห้องสมุดเมืองทีบส์มีคำจารึกว่า " หนังสือโอสถสำหรับวิญญาณ" (Medicine Chest for the Soul) คล้ายๆ กับคำจารึก "หนังสือคือแหล่งรักษาจิตใจ" (The Healing Place of the Soul) ในห้องสมุดเมืองแอบเบย์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เฮเลน ฮาร์ทลี นักการศึกษา กล่าวถึงประโยชน์ของการบำบัดโรคด้วยหนังสือว่า เพราะ การอ่านจะทำให้ผู้อ่านพบว่าความไม่แน่ใจของตน ความทุกข์โศก และความผิดหวัง มิได้เกิดขึ้นกับตนเองเพียงผู้เดียว บุคคลอื่นๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ต่างก็มีประสบการณ์เช่นเดียวกับตน
"เขาจะรู้สึกโล่งอกเมื่อปัญหาที่ทำให้ตนเองต้องแยกตัวออกจากสังคมสู่โลก เปล่าเปลี่ยวแห่งความผิดหวัง ความคับข้องใจ ความทุกข์โศกหรือความสงสัย ถูกขจัดให้หมดไปภายหลังจากการอ่านหนังสือ"
ผลแห่งการอ่านจะช่วยให้สมองถูกกระตุ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ที่สำคัญผู้ป่วยอัลไซเมอร์
ยิ่งอ่านมาก เซลล์สมองได้ทำงานมาก เปรียบเทียบกับกล้ามเนื้อ ยิ่งใช้งานมากยิ่งแข็งแรง แต่ถ้าไม่ใช้งาน ไม่อ่าน ไม่คิดตาม มันจะฝ่อ แต่ถ้าใช้บ่อยๆ ก็จะแข็งแรง และจะมีบางส่วนที่งอกออกมา เกิดวงจรใหม่ๆ ในสมอง หนังสือที่ใช้อ่าน เป็นเรื่องอะไรก็ได้ ที่เนื้อหาไม่เลวร้าย
ที่มา : ข่าวสด วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6125 คอลัมน์ เก็บเรื่องมาเล่า
3. บริการปรึกษาแนะนำทำรายงาน
- มีบริการมากในห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
- ช่วยเหลือแนะนำแนวทางในการค้นคว้า
4. บริการแนะนำและช่วยการวิจัย
สิ่งที่ห้องสมุดต้องทำ
1. Ready Referenceในปัจจุบัน ปัญหาของการค้นหาข้อมูลจากทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ คือ ต้องใช้เวลาในการหาคำตอบนาน โดยเฉพาะคำถามที่ต้องการคำตอบสั้นๆ เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อาคารที่สูงที่สุดในโลกชื่ออะไร ตั้งอยู่ที่ใด เป็นต้น ซึ่งบรรณารักษ์จะจัดเป็นคำถามประเภท "คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริงทันที" (Ready Reference) และมักใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดทำในลักษณะสังเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อเท็จจริงมานำเสนออย่างสั้นๆ ได้แก่ สมพัตสร รายปี คู่มือ และนามานุกรม เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ แต่ในปัจจุบันได้รวมรายการทรัพยากรสารสนเทศอ้างอิงอื่นๆ ครอบคลุมทั้ง 9 ประเภท เช่น บรรณานุกรม สารานุกรม ดรรชนี พจนานุกรม รวมไว้ด้วย
ในที่นี้ได้รวบรวมรายการทรัพยากรสารสนเทศอ้างอิงพื้นฐาน หลายประเภทเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งที่บริการเป็นสาธารณะบนอินเตอร์เน็ต และรายการทรัพยากรสารสนเทศอ้างอิงประเภทวัสดุสิ่งพิมพ์ เพื่อเป็นการแนะนำผู้ใช้ และเป็นแหล่งข้อมูลในการค้นหาข้อเท็จจริง ที่ผู้ใช้สามารถค้นด้วยตัวเอง
2. Topics / subjects
3. Cours guide
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้บัญญัติแนวทางการศึกษาเป็นมาตราต่างๆ ซึ่งการศึกษาในยุคปัจจุบัน ต้องให้ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด มีความรู้ มีคุณธรรม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ การศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ภูมิปัญญา และวิทยาการ นอกจากนี้โรงเรียนแต่ละโรงเรียนสามารถสร้างหลักสูตรสถานศึกษาได้เอง โดยมีสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม เป็นหลัก และต้องมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วย ซึ่งแต่ละโรงเรียนสามารถกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้ตามความเหมาะสม เพราะความมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาเด็กไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคือ การกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านสนใจการอ่านจนกระทั่งมีนิสัยรักการอ่าน และได้พัฒนาการอ่านจนกระทั่งมีความสามารถในการอ่าน นำประโยชน์จาการอ่านไปใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการอ่านทุกประเภท (ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์, 2542 : 93)
กรมวิชาการ (อ้างถึงใน ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์, 2542 : 93) ให้ความหมายว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคือ การกระทำเพื่อ
1. เร้าใจบุคคลหรือบุคคลที่เป็นเป้าหมายให้เกิดความอยากรู้ อยากอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่มีคุณภาพ
2. เพื่อแนะนำชักชวนให้เกิดความพยายามที่จะอ่านให้แตกฉาน สามารถนำความรู้จากหนังสือไปใช้ประโยชน์ เกิดความเข้าใจในเรื่องต่างๆดีขึ้น
3. เพื่อกระตุ้น แนะนำให้อยากรู้ อยากอ่านหนังสือหลายอย่าง เปิดความคิดให้กว้าง ให้มีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย พัฒนาการอ่านจนถึงขั้นที่สามารถวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้
4. เพื่อสร้างบรรยากาศที่จูงใจให้อ่าน
ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่ห้องสมุดจัด ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอ่านอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเป็นนิสัยรักการอ่าน เช่น การเล่านิทาน การเชิดหุ่น การแสดงละคร การแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ เป็นต้น
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น
1. การแนะนำหนังสือ 2. การเล่านิทาน
Web 2.0
โดยลักษณะที่เด่นชัดของ Web 2.0 นั้น จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาและการโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ใช้งาน แทนที่จากระบบเว็บแบบเก่า ที่เป็นลักษณะของการให้บริการอ่านอย่างเดียว โดยรวมไปถึงการรวดเร็ว และการง่ายดายของการส่งข้อมูล แทนที่แบบเก่าที่ต้องจัดการผ่านเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งบล็อกและเว็บที่ให้บริการอัปโหลดภาพถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่างของ Web 2.0 ที่ให้เห็นได้ทั่วไป ที่มีการให้บริการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการใช้งานที่ง่าย โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์แต่อย่างใด เห็นได้ว่าลักษณะของ Web 2.0 นั้นก่อให้เกิดการสร้างเนื้อหา ที่รวดเร็ว และมีการแบ่งปันข้อมูลที่ง่ายขึ้น โดยลักษณะของเว็บเปลี่ยนจากทางเน้นหนักทางด้านเทคนิค ไปในด้านข้อมูลข่าวสารแทนที่ และก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านธุรกิจต่อมา
ถึงแม้ว่า Web 2.0 จะมีการนิยมใช้งาน AJAX Flash Flex Java Silverlight ช่วยในการจัดการข้อมูล แต่ตัวเทคโนโลยีเหล่านั้น ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในรูปแบบของ Web 2.0 แต่อย่างใด โดยเทคโนโลยีเหล่านั้นช่วยให้เว็บเพจสามารถดึงข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์มาที่หน้าเว็บได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหน้าทั้งหมดใหม่ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวกสบายมากขึ้น
1. หลังจากที่ดอตคอมในยุคนั้นได้ล่มสลายลงไป แนวคิดของการสร้างสรรค์ธุรกิจเว็บไซต์ และการออกแบบต่าง ๆ ได้มีพัฒนาการที่สำคัญเพิ่มขึ้นเช่น เรื่องความน่าสนใจของแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ รวมถึงวิธีการดำเนินธุรกิจออนไลน์ด้วยแนวทางใหม่ๆ จึงได้กำหนดคุณลักษณะของเว็บ 2.0 ดังนี้
2. ลักษณะเนื้อหามีการแบ่งส่วนบนหน้าเพจเปลี่ยนจากข้อมูลก้อนใหญ่มาเป็นก้อนเล็ก
3. ผู้ใช้สามารถเข้ามาจัดการเนื้อหาบนหน้าเว็บได้และสามารถแบ่งปันเนื้อหาที่ผ่านการจัดการให้กับกลุ่มคนในโลกออนไลน์ได้ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของสังคมออนไลน์สังคมออนไลน์เกิดความเป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้น เกิดกิจกรรมบนนั้นมากขึ้น
4. เนื้อหาจะมีการจัดเรียง จัดกลุ่มมากขึ้นไปกว่าเดิม
5. เกิดโมเดลทางธุรกิจที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และทำให้ธุรกิจเว็บไซต์กลายเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล
6. การบริการ คือ เว็บที่มีลักษณะเด่นในการให้บริการหลาย ๆ เว็บไซต์ที่มีแนวทางเดียวกัน
ที่มา : http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bm521/kurokung_2/kurokung-web2/00/00_1.html
Lib 2.0
นอกจากนี้เว็บไซต์ห้องสมุด ควรรองรับเทคโนโลยี RSS ทั้งผู้ให้และผู้รับ กล่าวคือ ทุกเนื้อหาในเว็บไซต์ควรสามารถแปลงเป็น RSS ได้ทันที และอนุญาตให้หน่วยงานอื่นหรือผู้ใช้อื่นมาติดตามข่าวสารผ่าน RSS News ได้ทันที หรือจะดึงข้อมูล RSS จากแหล่งอื่นมาเผยแพร่ก็ได้ ทั้งหมดนี้เป็นความสามารถเด่นของ CMS และ Blog อยู่แล้ว
เนื้อหาหมวดหนึ่งที่เว็บไซต์ห้องสมุดมักจะต้องเผยแพร่ก็คือ หนังสือแนะนำ วารสารแนะนำ หรือสื่อโสตฯ ใหม่ๆ ซึ่งกรณีนี้ก็อาจจะเพิ่มความสามารถแนะนำคำค้นโดยผู้ใช้ที่เรียกว่า Tag ก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้คำค้น หรือ Subject heading ของสื่อนั้นๆ เพิ่มขึ้นและตรงกับความต้องการของผู้ใช้
ดังนั้นห้องสมุด 2.0 ไม่ใช่เพียงแค่รอให้ผุ้ใช้มาสืบค้น แต่จะต้องรุกหาผู้ใช้ด้วย สร้างช่องทางแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุด เช่น
1. เปลี่ยนจากระบบอีเมล์หรือ FAQ เป็นการให้บริการด้วย ICQ หรือ MSN
2. เปลี่ยนจากเนื้อหานำเสนอด้วยข้อความอย่างเดียว เป็นการให้บริการด้วยสื่อโต้ตอบ หรือสื่อเสมือนจริง
3. เปิด Blog หรือ Wiki เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ แลกเปลียนความรู้
4. คำค้นจากผู้ใช้ (Tag) มีความสำคัญพอๆ กับ Controled Term
5. เปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์แบบธรรมดา หรือจ้างพัฒนาราคาแพง แต่เลือกใช้ความสามารถของ CMS ที่เหมาะสมในกลุ่ม Open Source ที่มีให้เลือกได้หลากหลาย
ที่มา : http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_rsgallery2&Itemid=32
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น