วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหา วิชาการบริการสารสนเทศ (707) วันที่ 26 มิถุนายน 2554

บริการยืม - คืน/จ่ายรับ (Cirulation Service)
เป้าหมายหลัก คือ
-  การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยาการสารสนเทศ
-  นำไปศึกษาค้นคว้านอกสถาบันได้

ปรัชญาการบริการยืม - คืน
-  ให้ความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
-  กำหนดนโยบายและระเบียบ โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด

บทบาทหน้าที่ของบริการยืม - คืน
1.  การควบคุมงานบริการยืม - คืน 
-  เป็นบริการพื้นฐานที่ต้องมีในห้องสมุดสมัยใหม่
2.  ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
-  เป็นจุดบริการแรกที่ผู้ใช้จะมองเห็นและเข้ามาติดต่อมากใน

งานห้องสมุด
-  บริการที่ดีเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการของห้องสมุด

การประชาสัมพันธ์
-  จุดที่มีการบริการทั้งหมด ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ
-  ผู้ใช้คาดหวังว่า เจ้าหน้าที่ห้องสมุดทราบทุกๆเรื่อง

สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่พอใจ
1.  ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการได้
2.  ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดส่ง หรือการส่งช้า
3.  ระยะเวลาในการยืมสั้น
4.  จำกัดครั้งการยืม
5.  ค่าปรับ
6.  เสียงรบกวน
7.  ไม่พอใจบริการ
8.  ร้อนหรือเย็นเกินไป
9.  เครื่องสำเนาเอกสาร คอมฯ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทำงาน

การจัดการ
1.  ห้องสมุดขนาดเล็ก บรรณารักษ์ทำหน้าที่ดูแลงาน เจ้าหน้าที่ กำหนดนโยบาย ขั้นตอนการดำเนินงาน และแนะนำดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่
2.  ห้องสมุดขนาดใหญ่  มีหัวหน้าแผนก (Department Head)ดูแลบรรณารักษ์ โดยบรรณารักษ์ดูแลงานด้านการศึกษา
3.  ห้องสมุดขนาดใหญ่ จะมีหัวหน้างาน (Circulation Chief) ดูแลงานภายใต้การควบคุมของผู้ช่วยบรรณารักษ์ (Asistant Librarian) และหัวหน้าบรรณารักษ์ที่ทำหน้าที่ดูแล (Division Supervisor)

ความรู้และทักษะที่ต้องการ
1.  มีใจรักในงานบริการ มีความอดทนสูง
2.  มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ
3.  มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล OPAC
4.  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

การจัดการบุคลากรในการบริการ
-  It is Important to have an experience staff member on duty
-  Full - time staff usually work one night a week and weekends
-  There are busy periods and show periods

คุณสมบัติของบรรณารักษ์
1.  ต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยี
2.  รู้จักความต้องการและความสนใจของผู้ใช้
3.  มีความสามารถในการติดต่อประสานงานกับทุกภาคส่วนในห้องสมุด

เจ้าหน้าที่ยืม - คืนจำป็นต้อง
1.  มีความสุขกับการให้บริการแก่ผู้ใช้
2.  ถูกต้อง โปร่งใส
3.  ยืดหยุ่น
4.  เชื่อถือได้

การยืมและการคืน
-  ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ
-  กำหนดระยะเวลาในการยืม - คืน
-  บริการจอง
-  บริการหนังสือสำรอง
-  บริการตรวจสอบหนังสือ
-  ปรับสิ่งพิมพ์เกินกำหนดส่ง / เสียหาย กำหนดอัตราการปรับ และการออกใบเสร็จ
-  บริการตอบคำถาม ชี้แนะสารนิเทศแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุด และผู้ติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์
-  บริการยืมระหว่างห้องสมุด (ภายใน)
-  บริการล๊อคเกอร์รับฝากสิ่งของ ตรวจกระเป๋า และสิ่งของ

กฏระเบียบการปฏิบัติงาน

ค่าปรับ
-  เพื่อกระจายการเข้าถึงให้ผู้อื่น
-  การมีความรับผิดชอบ
-  มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้มีการส่งคืนตามเวลาที่กำหนด

การกำหนดค่าปรับ
-  การกำหนดจำนวนแตกต่างกัน
-  ค่าปรับสำหรับการยืมระยะสั้นจะสูงกว่ากำหนดยืมระยะยาว
-  ค่าปรับทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน
-  ควรส่งเอกสารแจ้งเตือนวันส่ง

การจัดการปัญหาในการปรับ
-  มีการยกเว้น (Amnesty Programs)
-  มีการผ่อนผัน (Grace Period)
-  หากไม่มีการส่งคืน และไม่จ่ายค่าปรับ สิทธิการใช้ห้องสมุดถูกระงับ
-  บางห้องสมุดอาจมีการใช้บริการติดตามจากบริษัทที่มีบริการติดตาม (น้อยมาก)
-  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะทำเรื่องขอระงับการออก Transcripts หรือระงับการอนุมัติสำเร็จการศึกษา
-  หลังจาก Grace Period ควรกำหนดค่าปรับเป็นจำนวนที่กำหนดโดยไม่นับตามจำนวนค่าปรับจริง
-  การกำหนด Grace Period ให้สอดคล้องกับระยะเวลาการยืม
-  หากมีหนี้สินที่ยังไม่ได้ชำระเกินจำนวนเงินที่กำหนดโดยห้องสมุด 
-  มีการติดประกาศแจ้งขอความร่วมมือ
-  มีการแจ้งเตือนเป็นระยะก่อนดำเนินการใด ๆ ในการจำกัดสิทธิ์

การจ่ายค่าปรับ
-  จ่ายที่บริการยืม - คืน
-  จ่ายผ่านระบบอัตโนมัติ
-  เปิดให้มีการผ่อนผันการต่อรองระหว่างผู้ยืมและเจ้าหน้าที่

การรักษาความปลอดภัย
การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้
1.  เพื่อจำแนกว่าใครบ้างมีสิทธิ์ยืมทรัพยากรหรือมีสิทธิ์ใช้บริการ
2.  ข้อมูลส่วนบุคคล
3.  สถาบันสารสนเทศจำเป็นต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย และลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่จะให้บริการ

ระบบงานยืม - คืนอัตโนมัติ
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำเร็จรูปที่นิยมใช้
1.  ระบบ URICA
2.  ระบบ DYNIX
3.  ระบบ TINLIB
4.  ระบบ INNOPAC

โปรแกรมรหัสเปิด
-  โปรแกรม Koha ห้องสมุดขนาดใหญ่
-  OpenBiblio ห้องสมุดขนาดกลาง
-  PhpMylibrary ห้องสมุดขนาดเล็ก
-  Vufind ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
-  PhpMyBibli (PMB) เป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติขนาดใหญ่
-  Emilda ห้องสมุดโรงเรียน

เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในบริการยืม - คืน
เทคโนโลยีรหัสแถบ
เป็นการกำหนดรหัสในรูปแบบแถบสีขาว และสีดำที่มีความแตกต่างด้านความกว้างแทนตัวเลข และตัวอักษร 

Barcode Desig
ตัวอย่างการออกแบบบาร์โค๊ด



รหัสบาร์โค๊ดแบบ 2 มิติ (QR Code, 2D Barcode)
เป็นเทคโนโลยีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างรหัสบาร์โค๊ด (แบบธรรมดา) และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี

ลักษณะเด่นของรหัสบาร์โค๊ดแบบ 2 มิติ
-  ในส่วนของการผลิตจะไม่มีค่าใช้จ่าย
-  สามารถพิมพ์ออกมาเพื่อทำการติดที่ตัวเล่มหนังสือได้ทันที มี 2 ดวงคือ
ดวงที่ 1  เพื่อทำการจัดเก็บเฉพาะข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ
ดวงที่ 2  เพื่อใช้ทำการยืม - คืนหนังสือ

QR Code
-  2D Barcode สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
-  สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4,000 ตัวอักษรหรือมากกว่าบาร์โค๊ดปกติ 200 เท่า
-  สามารถบรรจุข้อความได้หลากหลายภาษา
-  สามารถใช้อุปกรณ์อ่านได้มากอุปกรณ์

RFID - Radio frequency identification
การใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อการระบุอัตลักษณ์ของวัตถุที่ติดป้ายอาร์เอฟไอดีแทนการระบุด้วยวิธีอื่น
วัตถุประสงค์หลักคือ  เพื่อนำไปใช้งานแทนระบบรหัสแถบเนื่องจากจุดเด่นของอาร์เอฟไอดี อยู่ที่การอ่านข้อมูลจากแท็กได้หลายๆ แท็กแบบไม่ต้องมีการสัมผัส

ข้อดีของ RFID
-  สามารถบ่งชี้วัตถุหรืออ่านข้อมูลได้โดยวัตถุนั้นไม่ต้องอยู่ในแนวระดับที่มองเห็น







วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาวิชา การบริการสารสนเทศ (707) วันที่ 19 มิถุนายน 2554

งานบริการห้องสมุด

งานบริการของห้องสมุดมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของห้องสมุดแต่ละประเภทเราสามารถแบ่งประเภทของห้องสมุดได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1.  ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นภายในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา หรือโรงเรียนอาชีวศึกษา โดยวัตถุประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนย่อมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและของโรงเรียนนั้นๆ
2.  ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Library) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถานศึกษาขั้นอุดมศึกษา เป็นแหล่งกลางของตำราวิชาการและเอกสารอ้างอิงต่างๆ ที่อาจารย์ นิสิต นักศึกษาสามารถใช้ได้เพื่อการค้นคว้าและวิจัย
3. ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในหน่วยงานของเอกชนหรือรัฐบาล หรือตามโรงงานต่างๆ เก็บรวบรวมหนังสือ     สิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้นๆ เช่น ห้องสมุดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จะมีแต่หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และการพยาบาล
4.  ห้องสมุดประชาชน (Public Library) เป็นห้องสมุดที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นทุกอำเภอและจังหวัด เพื่อให้บริการแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย เข้าใช้บริการค้นคว้าหาความรู้ ติดตามข่าวสารช่วยพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน
5.  หอสมุดแห่งชาติ (National Library) เป็นสถานที่รวบรวมหนังสือ    สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่จัดพิม์ขึ้นในประเทศ ต้นฉบับตัวเขียน ศิลาจารึกต่างๆ ตลอดจนโสตทัศนวัสดุ และเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของชาติในด้านสิ่งพิมพ์ทุกประเภท เพื่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัย

ความสำคัญของงานบริการห้องสมุด


1.  เป็นองค์ประกอบที่เกี้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด
     เนื่องจากงานบริการเป็นงานที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการจำนวนมาก  และมีความสำคัญในการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ห้องสมุด สิ่งที่งานบริการต้องการคือ ผู้ใช้ ห้องสมุดต้องปรับเปลี่ยนงานบริการให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  หากห้องสมุดจัดบริการที่ดี  คุณค่าที่มีต่อสังคม    ก็จะสูงขึ้น และบรรณารักษ์งานบริการสมัยใหม่ต้องเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัย เพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
2.  ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา
    งานบริการห้องสมุดจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งทีเดียว คุณรัญจวน อินทรกำแหง กล่าวว่า การเรียนการสอนจะบังเกิดผลที่พึงประสงค์ก็ขึ้นอยู่กับการจัดบริการห้องสมุด ซึ่งบรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบงานบริการจะหาวิธีการมาใช้ เพื่อให้หนังสือ สถานที่ครุภัณฑ์ห้องสมุดได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่    ซึ่งถ้าเป็นดังนี้แล้ว ก็เท่ากับเป็นการจัดห้องสมุดที่ได้ผลกำไร อย่างแท้จริง
3.  ในด้านเศรษฐกิจ
     งานบริการของห้องสมุดจะช่วยในด้าน การประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ จัดหาวัสดุห้องสมุด เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุของบุคคลจำนวนมาก เช่น อาจารย์ นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ให้สามารถนำเงินที่จะจัดซื้อสิ่งพิมพ์ เพื่อหา ความรู้ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการของตนไปใช้สอยในด้านอื่นได้อย่างเต็มที่
4.  ในทางวัฒนธรรม
     เนื่องจากห้องสมุดเป็นสถาบันที่มีหน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาติบ้านเมือง การจัดการบริการห้องสมุดจึงมักต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับ วัฒนธรรม บริการห้องสมุดใดที่ไม่สนับสนุนส่งเสริมประเพณี และเอกลักษณ์ของสังคมที่ห้องสมุดสังกัดอยู่ ย่อมจะไม่ได้รับการยอมรับและ  ไม่สามารถประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานใดๆได้ บริการห้องสมุดจึงสำคัญยิ่งต่อการรักษาสืบทอด วัฒนธรรมของชาติให้ปรากฎอยู่และสืบทอดไปยังประชาชนรุ่นหลัง
5.  การเมืองและการปกครอง
     บริการของห้องสมุด มีภาระหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมระบอบการเมือง และการปกครองของบ้านเมือง การจัดหนังสือเพื่อ บริการความรู้แก่ชนทุกระดับ ตั้งแต่ เด็กเล็กจนถึงคนชรา ก็ล้วนมีจุดมุ่งหมาย เพื่อส่ง เสริมชาติ บ้านเมือง เพื่อให้คนทุกคนมีความรู้มีสติปัญญา มีความก้าวหน้าในอาชีพของบุคคล
     * บทบาทของงานบริการห้องสมุดจึงไม่จำกัดอยู่เพียงจัดหาหนังสือมาให้ประชาชนอ่านเท่านั้น อาจใช้วิธีการส่งเสริมการจัดกิจกรรม ให้กว้างขวางขึ้น เช่น จัดสัมมนา จัด อภิปราย จัดฉายภาพยนตร์ เพื่อส่งเสริมความรู้ของประชาชนในด้านที่เกี่ยวกับการเมือง วิถีทางการปกครองแบบต่าง ๆ หรือสัมมนาปัญหาที่บ้านเมืองประสบอยู่ในขณะนั้น
   
 Library Building
(อาคารห้องสมุด)

สิ่งหนึ่งที่จะดึงดูดใจในการเข้าใช้บริการของผู้ใช้บริการนั่นก็คือ การออกแบบและตกแต่งภายในห้องสมุด ในต่างประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องของการออกแบบอาคารอย่างมาก  มาดูตัวอย่างแบบอาคารห้องสมุดที่ทันสมัยในต่างประเทศกัน




ภาพที่ 1 โครงสร้างและการออกแบบ
The Seattle Public Library



ภาพที่ 2 โครงสร้างและการออกแบบ
Woodschool


 ภาพที่ 3 โครงสร้างและการออกแบบ
The Consortium Library (University of Alaska Anchorage)


ภาพที่ 4 โครงสร้างและการออกแบบ
Philadelphias Parkway Central Library

หากถามว่าการออกแบบอาคารห้องสมุดนั้นต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง หลายคนอาจจะคิดว่า
- ต้องหรูหรา
- ต้องมีรูปแบบทันสมัย
- ต้องไม่เหมือนใคร
ทั้งหมดที่กล่าวมาก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยดึงดูดผู้ใช้บริการให้เข้ามาห้องสมุด แต่สิ่งที่สำคัญที่ห้องสมุดจะต้องคำนึงถึงมากที่สุด นั่นก็คือ ต้องออกแบบเพื่อรองรับกับงานบริการผู้ใช้ และการทำงานของบรรณารักษ์ไปพร้อมๆ กันนั่นเอง

ที่มาของรูป http://www.weburbanist.com

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาวิชา การบริการสารสนเทศ(707) วันที่ 12 มิถุนายน 2554

การบริการ
ความหมาย - บริการ
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546) กล่าวว่า คือ การปฏิบัติรับใช้หรือให้ความสะดวกต่างๆ หรือใช้เป็นนาม หมายถึง ให้บริการ ใช้บริการ
สมิต สัชฌุกร (2548) กล่าวว่า
-  การให้ความช่วยเหลือ ให้ผู้รับบริการได้รับความประทับใจ ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร
-  งานบริการเป็นเครื่องมือสนับสนุนด้านต่างๆ หากทำให้ผู้รับบริการเกิดความเชื่อมั่นในองค์กร
- ภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยาก คือเป็นความฝังใจ หากเกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีย่อมส่งผลเสียต่อองค์กรในอนาคต
- สิ่งสำคัญของการให้บริการก็คือ การคัดเลือก คัดสรรสินค้าที่ดีและมีคุณภาพ
พิเชฐ บัญญัติ (2549) กล่าวว่า
งานที่ทำเพื่อคนอื่น นั่นคือลูกค้า หรือกิจกรรม หรือเทคนิคที่ทำให้เกิดประโยชน์
*งานบริการใดก็ตามต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้
*งานบริการไม่อาจกำหนดความต้องการได้ จะขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่ามีความต้องการอะไร ดังนั้นจึงไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับผู้ใช้ทุกคน
*องค์กรบริการต้องปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำรงชีวิต

สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนแปลง - งานบริการ
เนื่องมาจากชีวิตความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป อาทิเช่น
- การย้านถิ่นฐาน จากชนบทสู่เมือง
- รูปแบบการดำรงชีวิต เช่น จากอาศัยอยู่บ้านไปอาศัยอยู่คอนโด
- การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของอายุประชากร
- การติดต่อสื่อสาร
- การใช้จ่าย

ประเภทธุรกิจการบริการ
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.  การบริการเชิงธุรกิจ (Business service)
- มุ่งแสวงหาผลกำไร
- ควดหวังผลกำไรตอบแทนจากการลงทุน
- มักอยู่ในภาคเอกชน
2.  การบริการสาธารณะ (Public service)
- บริการโดยหน่วยงานหรือองค์กรในระบบเอกชน
- มุ่งรักษาผลประโยชน์และสวัสดิภาพของประชาชน

ลักษณะการบริการ
1.  ได้รับความพอใจหรือไม่พอใจ เกิดความรู้สึกในทันที แสดงออกจากอารมณ์
2.  ผลของการบริการเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและแปรผลได้รวดเร็ว
3.  ผลของบริการเชื่อมโยงไปถึงคนและองค์กร
4.  สร้างทัศนคติต่อบุคคล องค์กรและองค์การได้อย่างมาก
5.  ผิดพลาดแล้วชดเชยด้วยสิ่งอื่นก็เพียงแค่บรรเทาความไม่พอใจ
6.  สร้างภาพลักษณ์ให้องค์และองค์การเป็นเวลานาน
7.  หากเกิดการบกพร่องจะเห็นได้ชัด
8.  บุคลากรเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบริการที่ดี
9.  บุคลากรเป็นตัวแปรที่สำคัญในการสร้างและทำลายงานบริการ

  บริการห้องสมุด
งานห้องสมุด
1. งานบริหาร (Administration function)
-  กำหนดนโยบาย ควบคุมดูแลการทำงานของห้องสมุดให้สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันหรือหน่วยงานนั้นๆ
2.  งานเทคนิค (Technical function)
- เรียกว่าเป็นงานเตรียมการของห้องสมุด ดำเนินการอยู่เบื้องหลัง      ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ด้านบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์
3. งานบริการ (Service function)
-  งานบริการถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศ โดยต้องจัดบริการให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่ผู้ใช้บริการ

บทบาทของงานบริการห้องสมุด
-  งานบริการถือเป็นภารกิจหลักของสถาบันบริการสารสนเทศ
-  ผู้ให้บริการจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างสารสนเทศกับผู้ใช้บริการ

ประเภทงานบริการห้องสมุด
1.  บริการพื้นฐาน เช่น บริการผู้อ่าน (Reader Service) บริการยืม - คืน (Circulation Services)
2.  บริการอ้างอิงและสารสนเทศ (Reference and Information Srevice)
เช่น บริการสารสนเทศ (Information Services) บริการสอนการใช้ (Instruction Services) บริการแนะนำ (Guidance Services)
3.  บริการเฉพาะกลุ่ม เช่นบริการสำหรับผู้ด้อยโอกาส เด็ก วัยรุ่น หรือผู้สูงอายุ เป็นต้น

สรุป งานบริการถือเป็นหัวใจสำคัญของทุกองค์กร ทุกสถาบัน ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม เพราะทุกองค์กรย่อมต้องสร้างความเชื่อมั่น หรือสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อผู้ใช้บริการ ให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจ หากผู้ใช้บริการได้รับความประทับใจย่อมส่งผลดีต่อองค์กร แต่ถ้าผู้ใช้ไม่ประทับใจย่อมเกิดความเสียหายต่อองค์กรและผลประโยชน์ขององค์กรนั้นๆ ในอนาคต ฉะนั้นองค์กรแต่ละแห่งต้องศึกษาความต้องการของผู้ใช้และจัดหาบริการที่ตอบสนอง ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด