การบริการ
ความหมาย - บริการ
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546) กล่าวว่า คือ การปฏิบัติรับใช้หรือให้ความสะดวกต่างๆ หรือใช้เป็นนาม หมายถึง ให้บริการ ใช้บริการ
สมิต สัชฌุกร (2548) กล่าวว่า
- การให้ความช่วยเหลือ ให้ผู้รับบริการได้รับความประทับใจ ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร
- งานบริการเป็นเครื่องมือสนับสนุนด้านต่างๆ หากทำให้ผู้รับบริการเกิดความเชื่อมั่นในองค์กร
- ภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยาก คือเป็นความฝังใจ หากเกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีย่อมส่งผลเสียต่อองค์กรในอนาคต
- สิ่งสำคัญของการให้บริการก็คือ การคัดเลือก คัดสรรสินค้าที่ดีและมีคุณภาพ
พิเชฐ บัญญัติ (2549) กล่าวว่า
งานที่ทำเพื่อคนอื่น นั่นคือลูกค้า หรือกิจกรรม หรือเทคนิคที่ทำให้เกิดประโยชน์
*งานบริการใดก็ตามต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้
*งานบริการไม่อาจกำหนดความต้องการได้ จะขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่ามีความต้องการอะไร ดังนั้นจึงไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับผู้ใช้ทุกคน
*องค์กรบริการต้องปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำรงชีวิต
สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนแปลง - งานบริการ
เนื่องมาจากชีวิตความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป อาทิเช่น
- การย้านถิ่นฐาน จากชนบทสู่เมือง
- รูปแบบการดำรงชีวิต เช่น จากอาศัยอยู่บ้านไปอาศัยอยู่คอนโด
- การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของอายุประชากร
- การติดต่อสื่อสาร
- การใช้จ่าย
ประเภทธุรกิจการบริการ
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. การบริการเชิงธุรกิจ (Business service)
- มุ่งแสวงหาผลกำไร
- ควดหวังผลกำไรตอบแทนจากการลงทุน
- มักอยู่ในภาคเอกชน
2. การบริการสาธารณะ (Public service)
- บริการโดยหน่วยงานหรือองค์กรในระบบเอกชน
- มุ่งรักษาผลประโยชน์และสวัสดิภาพของประชาชน
ลักษณะการบริการ
1. ได้รับความพอใจหรือไม่พอใจ เกิดความรู้สึกในทันที แสดงออกจากอารมณ์
2. ผลของการบริการเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและแปรผลได้รวดเร็ว
3. ผลของบริการเชื่อมโยงไปถึงคนและองค์กร
4. สร้างทัศนคติต่อบุคคล องค์กรและองค์การได้อย่างมาก
5. ผิดพลาดแล้วชดเชยด้วยสิ่งอื่นก็เพียงแค่บรรเทาความไม่พอใจ
6. สร้างภาพลักษณ์ให้องค์และองค์การเป็นเวลานาน
7. หากเกิดการบกพร่องจะเห็นได้ชัด
8. บุคลากรเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบริการที่ดี
9. บุคลากรเป็นตัวแปรที่สำคัญในการสร้างและทำลายงานบริการ
บริการห้องสมุด
งานห้องสมุด
1. งานบริหาร (Administration function)
- กำหนดนโยบาย ควบคุมดูแลการทำงานของห้องสมุดให้สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันหรือหน่วยงานนั้นๆ
2. งานเทคนิค (Technical function)
- เรียกว่าเป็นงานเตรียมการของห้องสมุด ดำเนินการอยู่เบื้องหลัง ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ด้านบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์
3. งานบริการ (Service function)
- งานบริการถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศ โดยต้องจัดบริการให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่ผู้ใช้บริการ
บทบาทของงานบริการห้องสมุด
- งานบริการถือเป็นภารกิจหลักของสถาบันบริการสารสนเทศ
- ผู้ให้บริการจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างสารสนเทศกับผู้ใช้บริการ
ประเภทงานบริการห้องสมุด
1. บริการพื้นฐาน เช่น บริการผู้อ่าน (Reader Service) บริการยืม - คืน (Circulation Services)
2. บริการอ้างอิงและสารสนเทศ (Reference and Information Srevice)
เช่น บริการสารสนเทศ (Information Services) บริการสอนการใช้ (Instruction Services) บริการแนะนำ (Guidance Services)
3. บริการเฉพาะกลุ่ม เช่นบริการสำหรับผู้ด้อยโอกาส เด็ก วัยรุ่น หรือผู้สูงอายุ เป็นต้น
สรุป งานบริการถือเป็นหัวใจสำคัญของทุกองค์กร ทุกสถาบัน ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม เพราะทุกองค์กรย่อมต้องสร้างความเชื่อมั่น หรือสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อผู้ใช้บริการ ให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจ หากผู้ใช้บริการได้รับความประทับใจย่อมส่งผลดีต่อองค์กร แต่ถ้าผู้ใช้ไม่ประทับใจย่อมเกิดความเสียหายต่อองค์กรและผลประโยชน์ขององค์กรนั้นๆ ในอนาคต ฉะนั้นองค์กรแต่ละแห่งต้องศึกษาความต้องการของผู้ใช้และจัดหาบริการที่ตอบสนอง ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น