วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนาเรื่อง สารสนเทศรูปแบบใหม่ ในวันที่ 23 กรกฏาคม 2554 โดยอาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์


Library Trend
สารสนเทศรูปแบบใหม่


 
Trend ที่ 1 Cloud Computing
เป็นหัวข้อที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด ในการประชุมสัมมนาหัวข้อ "ห้องสมุด" และจะมีการยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเป็นประเด็นสำคัญ การบริการห้องสมุดในระดับประเทศ เช่น ในแถบเอเชียจะเปลี่ยนมาเป็น Cloud Computing ในการพูดถึงเรื่องนี้ในประเทศและต่างประเทศยังไม่แตกต่างกันมากนัก
ตัวอย่าง Cloud Computing เช่น Facebook, G-mail
ความหมายที่ 1 ที่ตั้ง
Cloud Computing  หมายถึง การทำงานที่เราไม่สามารถระบุตำแหน่งของเนื้อหาที่เราจัดทำได้หรือว่าเราไม่ทราบ Server ว่าติดตั้งอยู่ที่ไหน เราจะเรียกสิ่งนี้ว่า Cloud อะไรก็ตามที่เราทำงานผ่านอินเตอร์เน็ต แล้วถูกประมวลผลด้วยระบบ Server ใหญ่ของโลก นั่นคือ Cloud
ความหมายที่ 2 กลุ่มก้อน
ทั้งนี้กลุ่มเมฆเปรียบเสมือน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มเมฆที่ปกคลุมท้องฟ้ามีการเชื่อมโยงกันเป็นผืนเมฆเดียวกันห่อหุ้มโลกใบนี้ไว้ เช่นเดียวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากหลายเครื่องจากทั่วทุกมุมโลกเป็นเครือข่ายใยแมงมุมขนาดใหญ่ 
แต่ระบบการทำงานแบบนี้หากระบบเกิดปัญหา หรือระบบล่ม นั่นจะหมายถึง ทั่วโลกจะไม่มามารถใช้ระบบใดๆ ผ่านทางเครือข่ายได้เช่นกัน ดังในกรณีที่เกิด Black April ขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา

Black April   คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2011 ในประเทศสหรัฐอเมริกา สร้างความวุ่นวายให้กับอุตสาหกรรมไอซีที เมื่อระบบล่ม ส่งผลให้ทั่วโลกเกิดปัญหาด้วย รวมถึงประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบกับดาวเทียมไทยคมด้วยเช่นกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความสูญเสียกับข้อมูลบางส่วน ซึ่งบริษัทรายใหญ่ในอเมริกาคือ Amazon  เป็นบริษัทธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ ได้ออกมาชี้แจงถึงปัญหาดังกล่าว และแสดงความรับผิดชอบ โดยความเสี่ยงดังกล่าวจะเป็นประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้ดีที่สุดต่อไป สิ่งหนึ่งที่ต้องระลึกไว้เสมอก็คือ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีทันสมัยเพียงใดก็ไม่สามารถทำงานได้ ถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้า อย่างที่เกิดเหตุภัยพิบัติในญี่ปุ่น สร้างความเสียหายต่อระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบก็ไม่สามารถทำงานได้ ในบางกรณีมีการนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยในเหตุอุทกภัยก็มีให้เห็นบ้างในบ้านเรา
OCLC (Online Computer Library Center) ----> Cloud Opac
       เป็นหน่วยงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุดระดับโลก มีจำนวนสมาชิกเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ราว 75,000 แห่ง เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ Dublin, USA และสำนักงานตัวแทนอีก 13 แห่ง ทั่วโลก มี Vision ว่า OCLC The World’s Libraries Connected คือจะเชื่อมโยงห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เปรียบเสมือนเป็นองค์กรสหประชาชาติ (ด้านห้องสมุด) มีการ Share Resource ร่วมกัน และวางแผนพัฒนาร่วมกันให้ user มีการใช้งาน และสามารถตอบโจทย์ของ user ได้บริการที่โดดเด่นของ OCLC คือ ด้าน Resource นับเป็นแหล่งข้อมูลห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก บ่งบอกได้ว่าห้องสมุดใดในโลกนี้ มีหนังสือเล่มนี้บ้าง สืบค้นข้อมูลได้ที่เว็บ www.worldcat.org และนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีและการบริการในอีก 3 เรื่อง คือ

1. WorldCat Collection Analysis
ระะบบวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุด เป็นระบบที่ช่วยวิเคราะห์ความเหมาะสมของทรัพยากรห้องสมุดว่าเพียงพอกับความต้องการใช้งาน มากน้อยแค่ไหน เพื่อบริหารงบประมาณการจัดหาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และปรับปรุง พัฒนา Resource ให้ได้มาตรฐานสากลวิธีการจัดหาทรัพยากรห้องสมุด โดยใช้เครื่องมือ WorldCat Collection Analysis ในการวิเคราะห์ มี 4 รูปแบบ คือ
1. อิงกับ Authoritative List ในสาขาวิชาต่าง ๆ
2. เปรียบเทียบ Collection กับห้องสมุดใดห้องสมุดหนึ่ง (Peer Comparison)
3. เปรียบเทียบกับ Predefined Group จัดลำดับ Top ในสาขาวิชาต่าง ๆ
4. เปรียบเทียบกับ Circulation การยืม-คืน

2. WorldCat Local
นับเป็น OPAC ยุคใหม่ และ Global Union Catalog สืบค้นข้อมูลได้ที่เว็บ www.worldcat.org มีสมาชิกทั่วโลกราว 2 หมื่นกว่าแห่ง ที่นำข้อมูลขึ้น WorldCat ตลอดเวลาWorldCat Local เป็นการดึงความสามารถของ worldcat.org มาใช้งานกับห้องสมุดในระดับมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เป็นที่มาของการปลี่ยนแปลงรูปแบบ OPAC จากเดิม ที่ให้ข้อมูลเฉพาะห้องสมุดมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเท่านั้น โดยไม่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้บริการได้เพียงพอ เพราะปัจจุบันพฤติกรรมผู้ใช้บริการเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับมีแหล่งข้อมูลและเทคโนโลยีต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ห้องสมุดต้องปรับตัวเอง ให้ผู้ใช้ยังคงใช้บริการ OPAC ของห้องสมุดอยู่ เพียงแต่เพิ่มเติมข้อมูลหรือแหล่งข้อมุลใน OPAC ให้มากขึ้น คือ ค้นที่นี่ที่เดียว ครั้งเดียว ผู้ใช้บริการก็ได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้ว เหมือนเป็น One Search / Single search / Federated search  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ใช้ WorldCat Local เช่น MIT, Cornell, UCLA   สำหรับประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยมหิดลกำลังสนใจอยู่

3. ContentDM การทำ Digitization
ContentDM เป็น Software บริหารจัดการ Digital Content ซึ่ง OCLC ใช้เวลาพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเป็น Version 5 วิทยากรแสดงตัวอย่างให้ดู หลัก ๆ คือ ต้องมีการติดตั้ง Server เพื่อเก็บ Content และเครื่อง Client ในการทำงานของผู้ใช้บริการ โปรแกรมนี้มีจุดเด่น คือ เอกสาร PDF สามารถแปลงเป็น Text file และ สืบค้นได้

โดยสรุป งานนี้เเป็นการติดตามความก้าวหน้าเทคโนโลยีในวงการห้องสมุดระดับสากล หน่วยงานใดที่มีความพร้อมและสนใจก็สามารถติดต่อบริษัทผู้แทน OCLC ได้ สำหรับราคาหรือค่าใช้จ่ายในการบอกรับหรือใช้บริการ ไม่มีการกล่าวถึงเลย และไม่มีใครสอบถามด้วย แต่คิดว่าราคาคงสูงพอสมควรเช่นกัน

ที่มา : http://www.stks.or.th/blog/?p=7960

Cloud Service แยกตามประเภทผู้ใช้

1. Cloud ระดับองค์กร ...Cloud Library
2. Cloud ระดับบุคคล/ระดับบริการ Gmail, FB, Meebo, Hotmail, yahoo
3. Could ผสมผสาน   (รูปแบบผสมของระดับองค์กรและระดับบุคคล) ส่วนมากจะเป็นประเภทนี้

Dropbox
       Dropbox เป็นเครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถ เรียกใช้ ไฟล์งานต่างๆ ของคุณ ได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่แห่งไหน ใช้คอมพิวเตอร์ Notebook, PC หรือ มือถือ คุณก็สามารถเข้าถึงไฟล์งานของคุณได้อย่างง่ายดาย และตรงกันเสมอ ไม่ว่าจะมีการเพิ่ม ลด แก้ไข ไฟล์ใดๆ ใน Folder ของ Dropbox

Dropbox มีข้อดีต่างๆ มากมาย ที่ช่วยให้ชีวิตประจำวัน หรือการทำงานของคุณสะดวกยิ่งขึ้น ดังนี้

1.  Dropbox จะทำไฟล์ใน Folder Dropbox ให้ ‘ตรงกันเสมอ’ (Synchronize) โดยมีพื้นที่ฟรีให้มากถึง 2GB และใช้ได้ทั้งบน Windows, Mac, Linux, มือถือ และ Web-based. ไม่ว่าไฟล์ๆ นั้น จะถูกแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อใด Dropbox จะรู้และ Update ให้กับเครื่องอื่นๆ อัตโนมัติทันที

2.  แชร์โฟลเดอร์ต่างๆ ให้กับคนอื่นๆ เพื่อให้ "ทำงานร่วมกันได้" (Collaboration) นอกจากนี้ ยังสร้าง Public Link ให้ผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย

3.  Dropbox ทำให้คุณหมดห่วงเรื่อง สำรองข้อมูล เพราะ Dropbox ทำให้คุณอย่างอัตโนมัติโดยคุณไม่ต้องกังวลใดๆ เลย

4.  ไฟล์อีกชุดนึง จะเก็บไว้บน Internet เพื่อให้คุณเข้าถึงไฟล์ได้ทุกสถานที่ ที่ Internet สามารถเชื่อมต่อได้ และมีความปลอดภัยสูง


ที่มา : http://www.mapleday.com/dropbox


Cloud Service แยกตามการใช้บริการ                                   


1.  Public cloud –cloud ที่เป็นการให้บริการแบบสารธารณะ เช่น facebook
2.  Private cloud– cloud ส่วนบุคคล โดยวัตถุประสงค์ คือ การซื้อมาใช้เฉพาะกลุ่มหรือในองค์กรเท่านั้น 
3.  Hybrid cloud 


Cloud Service  แยกตามประเภทของเทคโนโลยี


SaaS – Software as a service

       SaaS ความหมายของ SaaS ก็คือ ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชันบนเว็บที่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้บริการได้ โดยแอพพลิเคชันพวกนี้จะไม่ถูกจัดเก็บเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มันไม่ได้ใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ของเรานั่นเอง ที่สำคัญเราสามารถเรียกใช้งานมันเมื่อไรก็ได้ในขณะที่เราเชื่อมต่อเน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมาก ตัวอย่าง SaaS ก็เช่น แอพพลิเคชัน Windows Internet Security Center ที่เปิดให้บริการใน Windows Live เป็นต้น เช่น www.zoho.com   http://www.docs.google.com/

IaaS – Infrastructure as a service

       การให้บริการกลุ่มเมฆประเภท Infrastructure-as-a-Service นั้นเป็นการนำโครงสร้างพื้นฐานของระบบมาสร้างเป็นบริการ เช่น หน่วยประมวลผล (Processing Unit) เครือข่ายข้อมูล (Network) หรือระบบเก็บข้อมูล (Storage) ผู้ใช้บริการจะสามารถเช่าเวลาในการประมวลผล ซื้อเวลาและขนาดของ ช่องสัญญาณในการส่งข้อมูล หรือขนาดของพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้ให้บริการได้ แต่การเช่าโครงสร้างพื้นฐานในระบบกลุ่มเมฆนี้แตกต่างจากการเช่าพื้นที่แบบเก่า (เช่นการเช่าพื้นที่เพื่อทำเว็บไซต์)

PaaS – Platform as a service

       Platform-as-a-Service ซึ่งให้บริการด้านสภาพแวดล้อมในการพัฒนาโปรแกรม (Development Environment) โดยผู้รับบริการสามารถพัฒนาโปรแกรมระบบและนำออกมาใช้ผ่านกลุ่มเมฆได้ ตัวอย่างที่สำคัญได้แก่ Google Apps TYPE ซึ่งผู้รับบริการสามารถสร้างโปรแกรมประยุกต์ประเภท Web Application ผ่าน Apps TYPE ได้เลย โดยใช้ภาษา Python หรือ Java ทาง Google จะมี API ให้ในการเรียกใช้บริการของ Google อื่นๆ รวมไปถึงฐานข้อมูลซึ่งอยู่ในกลุ่มเมฆด้วย ผู้รับบริการยังสามารถนำโปรแกรม ที่พัฒนาแล้วออกมาใช้ผ่านระบบกลุ่มเมฆของ Google อีกด้วย บริการประเภทนี้เป็นที่สนใจมาก เพราะอาจสามารถลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและดูแลระบบสารสนเทศขององค์กรอย่างเห็น ได้ชัด

Trend ที่ 2 Mobile Dervice 


         เป็น Trend ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง 5 ปี ในแง่ของการผลิต ผู้ผลิตต้องสำรวจความต้องการของผู้ใช้ หรือสำรวจสื่อที่สามารถรองรับเทคโนโลยีเหล่านี้ผ่านมือถือได้ โดยการสำรวจจากสถิติการใช้เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เว็บไซต์ที่สามารถใช้เพื่อสำรวจสถิติได้แก่   www.truehits.net   Mobile Device อุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่อง PDA และ

Trend ที่ 3 Digital Content & Publishing

        คือ  สารสนเทศที่มีรูปแบบดิจิทัล โดยอาศัยสื่อหรือการแสดงเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ เช่นคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร หรือแม้แต่โทรทัศน์ หรือโรงภาพยนต์ ซึ่งปัจจุบันใช้ระบบดิจิทัลเป็นหลัก เช่น ebook, IR, Digital library, OJS เป็นต้น ในต่างประเทศนำไปใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องการลดปริมาณงบประมาณในการจัดซื้อสารสนเทศ โดยการสร้างวารสารขึ้นเอง และงดรับซื้อวารสารออนไลน์ทุกชนิด  ทำให้เกิดการสนับสนุนบุคลากรภายในองค์กรให้แสดงศักยภาพหรือความสามารถของตนเอง เป็นการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน โดยความร่วมมือระหว่างคณาจารย์ที่มีความสามารถ ช่วยประหยัดงบประมาณ และที่สำคัญแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ได้ดีอีกด้วย  

 ebook


        หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่อ่านสามารถ อ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ สำหรับหนังสือ หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมาย รวมถึงเนื้อหา ที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการ นำเสนอ สอดคล้อง และคล้ายคลึงกับ การอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมี ลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่าน สามารถอ่าน พร้อม ๆ กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป

การทำ E-book ให้มุ่งความสำคัญไปที่ 3 ส่วนคือ

1.  การได้มาของเนื้อหา
2.  กระบวนการผลิต และรูปแบบ โดยการวางแผนการผลิตก่อน และต้องสำรวจความต้องการของผู้ใช้ก่อนเสมอว่ารูปแบบใดบ้างที่เป็นที่นิยมใช้ปัจจุบัน เช่น PDF, Flat เป็นต้น
3.  ต้นฉบับ ลิขสิทธิ์ และการเผยแพร่

รูปแบบไฟล์ของ eBook เช่น
.doc – typing on MS word 
.pdf
 Flip eBook เป็นไฟล์ที่ไม่สามารถขึ้นโชว์บนเว็บไซต์ได้ แต่แสดงออกมาในรูปแบบของ Album     
 Flash Flip eBook สามารถแสดงผลบนเว็บไซต์ได้เลย
 ePublishing- รูปแบบของสิ่งพิมพ์ที่เป็นโปสเตอร์ แผ่นพับ หรือลักษณะของอิเล็กทรอนิกส์
.ePub
 Digital Multimedia Book

Trend ที่  Crosswalk   Metadata 

คือ กลุ่มของเมตาดาต้ามากกว่า 1 ประเภท ซึ่งในปัจจุบันเมตาดาต้าได้มีการผสมผสานกันเกือบทั้งหมด ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเมตาดาต้าให้มากที่สุด ตัวอย่างของเมตาดาต้า เช่น
MARC,   MARCML- New of library ข้อแตกต่างกับ MARC คือไม่มีพวก Subfield 
Dublin Core
ISAD (g) มาตรฐานสำหรับกลุ่มผู้ที่จัดทำจดหมายเหตุแบบดิจิตอล เช่นที่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
CDWA สำหรับงานพิพิธภัณฑ์
RDF, OWL
MODs, METs  คล้ายกับ DC แต่มี element มากกว่า ใช้ในการทำดิจิตอลคอลเล็กชั่นส์
PDF Metadata, Doc Metadata สำหรับงานในมหาวิทยาลัย
EXIF, XMP ใช้สำหรับงานที่เกี่ยวกับรูปถ่าย,รูปภาพ digital ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักข่าว

  
Trend ที่ 5 Open Technology

       Technology ที่เป็น open technology เช่น Facebook Twitter, YouTube เพราะ technology เหล่านี้ ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือ Mechanism ที่เป็น open mechanism คือกลไลแบบเปิดที่ทุกคนเข้าถึงได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น