วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาวิชา การบริการสารสนเทศ (707) วันที่ 17 กรกฎาคม 2554


บริการสอนการใช้ (Instruction Service)

บริการอ้างอิงและสารสนเทศ
เป็นบริการหลักของห้องสมุด เป็นงานติดต่อกับผู้ใช้ห้องสมุดโดยตรง บรรณารักษ์เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้ห้องสมุด (Library Users) กับทรัพยากรสารสนเทศ (Library Resources)
ความสำคัญของงานบริการสารอ้างอิงและสารสนเทศ
1.  ช่วยให้ห้องสมุดให้บริการตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง
2.  ช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรของห้องสมุดเพิ่มขึ้น
3.  ช่วยทุ่นเวลาผู้ใช้ห้องสมุด
4.  ช่วยให้ห้องสมุดมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใช้ห้องสมุด
5.  ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมองเห็นความสำคัญของห้องสมุดในฐานะที่เป็นคลังแห่งวิทยาการอย่างแท้จริง (วิสิทธิ์ จินตวงศ์ 5521 : 8-11)

งานบริการอ้างอิงและสารสนเทศ ได้แก่
1.  งานบริการสารสนเทศ (Information Services) ตอบคำถามหรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ
2.  งานบริการสอนการใช้ (Instruction Services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์  การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)
3.  บริการแนะนำ (Guidance Services) จะเน้นการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น

สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กำหนดไว้คือ
"หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภทคือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ...การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ"

ปร้ชญาการบริการ
ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)


บริการสอนการรู้สารสนเทศ
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ (ชุติมา สัจจานนท์, 2550)
1.  การสอนการรู้สารสนเทศอย่างไม่เป็นทางการ (Information Instruction) ได้แก่ การนำชมห้องสมุด (Library tours) การปฐมนิเทศห้องสมุด (Library oriention) การสอนทางบรรณานุกรม (Bibliographic instruction) การสอนห้องสมุด วิจัยห้องสมุด (Library research courses) การฝึกอบรมผู้ใช้ (User training) การสอนทักษะห้องสมุด (Library skills instruction)
2.  การสอนการรู้สารสนเทศอย่างเป็นทางการ (Formal Instruction) ได้แก่ การสอนเป็นรายวิชาโดยเฉพาะ โดยพัฒนามาจากการสอนวิชาการใช้ห้องสมุดหรือการสอนเรื่องบรรณานุกรม ซึ่งต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อวิชา เช่น การใช้สารสนเทศ ทักษะสารสนเทศ การค้นคว้าและเขียนรายงาน สารสนเทศกับการศึกษาค้นคว้า เทคโนโลยีสารสนเทศกับการค้นคว้า และการสอนแบบบูรณาการทักษะสารสนเทศในหลักสูตรระดับต่างๆ และในรายวิชาต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา  
เช่น ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและค้นคว้า วิชาการวิจัย วิชาทักษะชีวิต เป็นต้น ส่วนใหญ่ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การสอนแบบบูรณาการอยู่ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ เป็นต้น

การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)

การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) หมายถึง ความรู้และความสามารถของบุคคลในการระบุความต้องการสารสนเทศของตนเอง สามารถค้นหา ประเมินคุณค่าและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ (AIA : American Library Association) ส่วนความจำเป็นที่จะต้องรู้สารสนเทศเนื่องจากปัจจัยหลัก 2 ข้อคือ
1.  การทะลักทะลายของสารสนเทศ (Information explosion) ทั้งจากจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น และรูปแบบที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บวกกับการเกิดขึ้นของศาสตร์แขนงใหม่ๆ
2.  ความเจริญรุดหน้าของ ICT ซึ่งทำให้การรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่สารสนเทศ เพิ่มจำนวนมากขึ้น และขยายไปทั่วทุกมุมโลก รวมถึงมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น

ความสำคัญของ Information Literacy
การรู้สารสนเทศมีความจำเป็นต่อการสร้างสังคมสารสนเทศ และสังคมความรู้ ด้วยเหตุผลและปัจจัยที่สำคัญดังนี้
-  สารสนเทศ เป็นทรัพยากรหลักในสังคมและถือเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สารสนเทศที่มีในปัจจุบัน 295 exabytes (พันล้านกิกะไบต์)
มีจำนวนมากกว่า 315 เท่าของเม็ดทรายที่มีในโลก
-  อินเทอร์เน็ต เป็นขุมทรัพย์ของความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เปรียบเป็นห้องสมุดโลก ก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่เปิดกว้างในเรื่องของข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ ความคิดเห็น ความร่วมมือ การวิพากษ์ วิจารณ์ เสรีภาพในการพูด การสื่อสาร เป็นต้น

นงเยาว์ เปรมกมลเนตร กล่าวว่า
"การรู้สารสนเทศ (Information Literacy : IL) เป็นประเด็นที่บรรณารักษ์และบุคคลในวิชาชีพสารสนเทศให้ความสนใจตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ และตั้งแต่ปี 1974 เป็นต้นมา บรรณารักษ์ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น และมีการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย มีประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ให้ความสนใจกับเรื่อง "การรู้สารสนเทศ" มากกว่าประเทศอื่นๆ และมีหลายหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้ ซึ่งส่วนมากเป็นสมาคมทางด้านห้องสมุดและสมาคมทางด้านเทคโนโลยี เช่น สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (ALA) สมาคมห้องสมุดวิทยาลัยและวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (ACRL) สมาคมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ISTE) โดยมีการยอมรับว่า การรู้สารสนเทศเป็นทักษะที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21" 
   
พัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
-  การเพิ่มขึ้นของสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้สารสนเทศ  รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้สารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศ  ทำให้บุคคลต้องเผชิญกับทางเลือกสารสนเทศที่หลากหลายและมากมาย
-  จึงมีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับประเมิน เลือก และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มทักษะใหม่ เช่น ทักษะในการแสวงหา  การเข้าถึงสารสนเทศ

บริการ International Roaming (IR) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า บริการโทรข้ามแดนอัตโนมัติ คือบริการที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ สามารถนำโทรศัพท์มือถือเครื่องเดิม หมายเลขเดิม ที่ใช้อยู่ที่เมืองไทย ไปใช้โทรออก หรือรับสายโทรเข้า ในต่างประเทศได้ แทบจะทุกประเทศที่สำคัญๆ ทั่วโลกเลยทีเดียว 
รูปที่ 1 แสดงภาพ International Roaming (IR)

Journal Database ฐานข้อมูลวารสารออนไลน์


รูปที่ 2 แสดงภาพ Journal Database

เสิร์ชเอนจิน (Search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อมความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟแวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่นๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสัคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อๆ ไป เสิร์ชเอนจินได้แก่
- กูเกิล (Google) 
- ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search)
- เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) นอกจากนี้ ยังมีเว็บอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาร์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu) เสิร์ชเอนจินอันดับ 1 ของประเทศจีน



รูปที่ 3 แสดงภาพ เสิร์ชเอนจิน (Search engine)

E - paper
กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ (ePaper) หรือ Electronic Paper Display (EPD) มีลักษณะคล้ายจอแสดงผลแบบ LCD แต่มีความยีดหยุ่นและบางกว่า แต่ที่นิยมใช้ในจอแสดงผลใน e-Reader คือ เทคโนโลยีหมึกอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e- Ink
รูปที่ 4  แสดงภาพ E- paper

Amazon Kindle
เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อการอ่านหนังสือเป็นหลักนวัตกรรมที่โดดเด่นที่สุดของ Kindle คือจอภาพแบบ [W:e-Ink] ซึ่งคิดโดยสถาบัน MIT ไม่ใช่จอแบบ back-lit เหมือนอย่างจอ LCD ทำให้ไม่เกิดปัญหา eye straint เวลาที่เรามองนานๆ 


รูปที่ 5  แสดงภาพ Amazon Kindle

Barnes and Noble - Nook
เครื่องอ่านอีบุ๊คแท็บเล็ต วัตถุประสงค์หลักของ Nookcolor คือเป็นเครื่องอ่านหนังสืออิเล็คโทรนิคของร้าน Barnes & Noble มีโปรแกรมอำนวยความสะดวกในการอ่าน, คั่นหน้าหนังสือ, ซื้อและชำระเงินค่าหนังสือ
รูปที่ 6 แสดงภาพ Barnes and Noble - Nook

Skiff Reader 
เครื่องอ่านอิเล็คทรอนิกส์ตัวต้นแบบจาก Skiff มีคุณสมบัติพิเศษที่ไม่เหมือนใคร เพราะสามารถงอได้ ทั้งยังมีสีสัน พร้อมทั้งเลย์เอาท์ตามแบบในนิตยสาร

รูปที่ 7 แสดงภาพ  Skiff Reader 
การปฎิรูปการศึกษา
การเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั่งเดิมจะลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนจะเปลี่ยนแปลงไปเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ และเป็นตัวนำในการสร้างบริษัทใหม่จึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างระบบพัฒนา องค์ความรู้ใหม่จากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่โดยเฉพาะองค์กรการพัฒนาการเรียน การ สอน และสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
ICT 2020
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กำหนดทักษะ 3 ประการในแผนพัฒนาทุนมนุษย์ คือ
1.  ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่่อสาร(ICT Literacy)
2.  การรอบรุ้ การเข้าถึง และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ หรือมีทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) ร้อยละ 75 
3.  การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น