วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหา วิชาการบริการสารสนเทศ (707) วันที่ 10 กรกฏาคม 2554


บัตรสมาชิกห้องสมุด
ประเภทของบัตรสมาชิกห้องสมุด
1.  บัตรพลาสติก
2.  บัตรติดแถบแม่เหล็ก (Magnetic stripe) ได้แก่
     2.1  บัตรที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน (Non Financial Related Card) เป็นบัตรที่มีการใช้อย่างกว้างขวาง เช่น บัตรสมาชิก บัตรเข้า - ออกสถานที่ ใบจอดรถ  บัตรเก็บข้อมูล เป็นต้น
     2.2  บัตรที่เกี่ยวกับการเงิน (Financial Related Card) การใช้งานจะประกอบด้วยระบบการป้องกันระดับสูง  มีการเข้ารหัสการใช้งานเช่น บัตรธนาคารเบิกเงินสด
3.  บัตรติดรหัสแถบ (Bar Code)
4.  บัตรติดชิพ หรือบัตรอัจฉริยะ (Smart Card or Chip Card) ได้แก่
     4.1  บัตรทำงานแบบสัมผัส (Contact Card) บัตรนี้การทำงานต้องนำตัวชิพที่ด้านหน้าบัตรเข้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออ่านค่า
     4.2  บัตรทำงานแบบไม่สัมผัส (Contactless Card)
     4.3  บัตรทำงานแบบผสม (Dual Interface Card)

งานบริการตอบคำถาม
(Repliesto Inquiries Service)

ปรัชญาการบริการ
-  ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ
-  ความต้องการสารสนเทศเฉพาะบุคคล
-  ผู้ใช้ได้มาซึ่งสารสนเทศอย่างรวดเร็ว

ความสำคัญของการบริการอ้างอิงและสารสนเทศ
1.  ช่วยให้บริการตรงกับความต้องการของผู้ใช้
2.  สนับสนุนการใช้ห้องสมุด
3.  ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดและผู้ใช้

หน้าที่
1.  แสวงหาสารสนเทศสำหรับคำถามที่มีความต้องการเฉพาะทาง
2.  ช่วยเหลือให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้ด้วยตนเอง
3.  สอนผู้ใช้ให้สามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด และทำการค้นคว้า

วิธี (ระดับ) การบริการ
-  ห้องสมุดเฉพาะ  ตอบคำถามอย่างรวดเร็ว (ได้สารสนเทศที่ต้องการ)
-  ห้องสมุดโรงเรียน สอนการใช้
-  ห้องสมุดประชาชน ช่วยหาสารสนเทศที่ต้องการ พัฒนาทักษะการสืบค้น
-  ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ตอบคำถามอย่างรวดเร็ว ช่วยค้นสารสนเทศที่ต้องการ สอนการใช้ห้องสมุด (ทักษะการสืบค้น)

งานบริการตอบคำถาม
(Repliesto Inquiries Service)

      บริการช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูล และสารสนเทศเฉพาะตามต้องการ โดยมีบรรณารักษ์อ้างอิง บริการที่โต๊ะบริการตอบคำถาม

ประเภทของคำถามอ้างอิง
1.  คำถามโดยตรงหรือข้อแนะนำ (Directional Question)
2.  คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริง (Ready Reference Question)
3.  คำถามที่ต้องการค้นคว้าข้อเท็จจริง (Specific Search Question)
4.  คำถามที่ต้องการอาศัยการค้นคว้าวิจัย (Research Question)

ประเภทของการบริการ
1.  บริการโดยตรง (Direct reference service)
     บริการที่บรรณารักษ์ออกไปบริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้โดยตรง รวมถึงการให้บริการสอนการใช้ห้องสมุด  โดยบรรณารักษ์ช่วยผู้ใช้เป็นบุคคลในการสืบค้น
2.  บริการทางอ้อม (Indirect reference service)
     เป็นงานเตรียมดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริการอาทิ 
     1.  การเลือกและการจัดหา
     2.  การบริหารและการจัดดำเนินการ
     3.  การจัดหาวิธีทาง (Access) เตรียมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์
     4.  การประชาสัมพันธ์
     5.  การประเมินผล
     6.  หน้าที่อื่นๆ

งานบริการตอบคำถาม
(Repliesto Inquiries Service)


แบบเดิม
-  บริการที่โต๊ะบริการ
-  บริการทางจดหมาย
-  บริการทางโทรศัพท์
-  บริการทางโทรสาร

New reference service models
-  Reconfiguring Reference Desks ปรับรูปแบบ
   * No Reference Desk ไม่มีโต๊ะบริการ
   * Consolidating
-  Tiered Reference

บริการสมัยใหม่


Asynchronous digital reference
1.  บริการอีเมลล์ ผ่าน Computer หรือ Mobile Service
-  E-mail
-  Web Form
Synchronous digital reference communicate in real time
2.  บริการ Chart
-  Basic chat
-  IM Voice, Skype, Video Conference
-  Web Call Center
3.  ความร่วมมือ
บริการ Chat, IM, Web Call

IM และบริการยืม - คืน

-  Second Life

คือ โลกเสมือนจริง 3 มิติ ที่ถูกสร้างโดยผู้เล่นเอง ผู้เล่นนั้นสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ สามารถสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็น ตึกอาคาร ยานพาหนะ เครื่องผ้า จนไปถึงของชิ้นเล็กๆ ผู้เล่นสามารถใส่จินตนาการสร้างอะไรก็ได้ที่ Second Life มากกว่านั้นแล้ว ของแต่ละอย่างรวมถึงตัวผู้เล่นหรือร่างสมมติ (Avatar) สามารถใส่ Script ลงไปเพื่อสร้างลักษณะต่างๆ ได้ เช่น มือถือก็ใส่ Script ให้โทรได้ บอลลูนก็ใส่ Script ให้ลอยได้ ร่างสมมติ (Avatar) ก็ใส่ Script ให้บินสูงเท่าไหร่ก็ได้ อย่างไรก็ตาม Second Life ไม่ได้ถูกตัดขาดจากโลกเราเลย มันถูกเชื่อมต่อกัน ธุรกิจที่มีชื่อเสียงมากมายเข้าไปอยู่ในโลก Second Life เพื่อโปรโมตสินค้าใหม่ จัดนิทรรศการ รวมถึงทำงานประจำวันกันในโลกนั้น 

-  Collaborative Networks

ความร่วมมือกันภายในเครือข่าย หรือเรียกว่า "ร่วมกันทำงาน" เพื่อความแพร่หลายและไม่เฉพาะเจาะจงไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยช่องทางที่จัดอยู่ในประเภทนี้ก็อย่างเช่น Wikipedia และ Google เป็นต้น ซึ่งเราสามารถใช่เพื่อค้นหาข้อมูลได้เยอะแยะมากมายทุกเรื่อง

-  Question Point
เป็นโครงการวิจัย / พัฒนาระหว่าง LC (Library of Congress) และ OCLC (Online Computer Library Center) สำหรับบทบาท Question Point กับงานห้องสมุดนั้นถือว่าเป็นงานบริการเชิงรุกที่คณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ กำลังศึกษาข้อมูลและทดลองใช้ เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์และสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยมีระบบที่จะรองรับงานบริการของห้องสมุด ได้แก่
-  มีฟังก์ชันให้บรรณารักษ์ตอบ ติดตาม และจัดการกับคำถามทางอินเตอร์เน็ต
-  เพิ่มประสิทธิภาพและขยายเวลาจัดให้บริการโดยไม่ต้องเพิ่มบรรณารักษ์
-  มีการรายงานและติดตามผลได้ทั้งในแง่ผู้ใช้ และผู้ให้บริการ
-  ผู้ใช้เข้าถึงได้ไม่จำกัดจากทุกที่ ทุกเวลา
-  ทำงานร่วมกัน เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มระดับประเทศ และทั่วโลก

-  24/7 Reference Service, 24/7 Reference Cooperative

"บริการ 24/7" นั้นหมายความว่า "twenty-four hours a day, seven days a week" "ยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อวัน เจ็ดวันต่อสัปดาห์" นั่นคือ "all the time" หรือหมายความว่า "ตลอดเวลา" นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น